ในแต่ละปีทั่วโลกใช้ถุงพลาสติกถึงแสนล้านใบ แต่ถุงพลาสติกที่ถูกนำมารีไซเคิลมีไม่ถึงร้อยละ 1 เนื่องจากต้นทุนการผลิตใหม่ถูกกว่า ปัจจุบันมีการทิ้งขยะถุงพลาสติกลงทะเลแล้วประมาณ 3 ล้านกิโลกรัม และยังคงมีการทิ้งอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังไม่มีมาตรการควบคุมการใช้ถุงพลาสติกและการทิ้งถุงพลาสติกที่ เข้มงวดและกว้างขวาง ปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) ความเกี่ยวโยง ระหว่างการใช้ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน คือ ถุงพลาสติกที่เราใช้ใส่สินค้าและอาหาร ผลิตจากน้ำมันดิบและยังใช้เชื้อเพลิงในการผลิตอีกด้วย ซึ่งพลังงานที่ใช้ผลิตถุงพลาสติกประมาณ 9 ใบ สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำมันให้รถวิ่งได้ไกลถึง 1 กิโลเมตร
เนื่องจากถุงพลาสติกสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ที่สำคัญที่สุดคือมีอายุการใช้งานสั้น ส่วนใหญ่เป็นการใช้เพียงครั้งเดียวโดยเฉพาะหูหิ้ว ดังนั้นขยะถุงพลาสติกจึงเป็นภาระอย่างยิ่งในการจัดเก็บ ขนส่งและกำจัด เนื่องจากคุณลักษณะที่เบาบางและมีปริมาณมาก ปะปนกับขยะประเภทอื่นได้ง่าย ซึ่งทำให้การย่อยสลายขยะอื่นเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ดังนั้นยิ่งมีการใช้ถุงพลาสติกมากเท่าไหร่ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกจากการผลิตและกำจัดขยะถุง พลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้นขยะถุงพลาสติกเมื่อผุพังก็กลายเป็นขยะชิ้นเล็กๆ ซึ่งสามารถแทรกในชั้นดินและปนเปื้อนในน้ำได้ ผลก็คือชิ้นส่วนเล็กๆ ของพลาสติกเข้าไปสู่ห่วงโซ่อาหาร ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อ พืช สัตว์ มนุษย์ และ สิ่งแวดล้อม แต่ละสัปดาห์คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง หรือมากกว่า 5,000 ล้านถุงต่อปี โดยการผลิตและใช้งานยังคงมีปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะทบทวนเรื่องใกล้ตัวนี้ และเร่งออกมาตรการเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม หลายประเทศเห็นถึงโทษร้ายแรงของภัยถุงพลาสติก ทำให้มีมาตรการคุมกำเนิดถุงพลาสติกกันอย่างจริงจัง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี
ลดการใช้ถุงพลาสติกแล้วได้อะไร
- ลดการเสื่อมโทรมของดิน
- ลดการเสื่อมคุณภาพของน้ำ
- ลดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำและบนบก
- ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน
- ลดการเกิดสารปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งในห่วงโซ่อาหาร
- ลดการอุดตันในทางระบายน้ำ ส่งผลให้ลดปัญหาน้ำท่วม
- ลดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์
- ลดแหล่งเพาะพันธุ์การแพร่กระจายของพาหะนำโรค และการแพร่ระบาดของโรค
|